วันอาทิตย์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

การปฐมพยาบาลเบื้องต้นสำหรับเด็ก


 

เรื่องง่ายๆที่ไม่ควรมองข้ามกับการปฐมพยาบาลเบื้องต้นสำหรับเด็ก


สวัสดีคะคุณแม่คุณพ่อทั้งหลาย....ต้องขอเกริ่นก่อนเลยนะคะว่าตัวแจงเองถึงจะยังไม่มีลูกแต่ว่าก็เคยเลี้ยงเด็กมา
บ้างนะคะเเละเข้าใจดีเลยคะว่าเด็กนั้นซนขนาดไหน เด็กๆมักจะสร้างเรื่องเจ็บตัวให้ตัวเองอย่างไม่ได้ตั้งใจอยู่เสมอนะคะ แต่บางครั้งพ่อแม่เกิดอาการท้อเวลาที่   ลูกซน ดื้อ จนไม่สามารถควบคุมได้ สร้างความลำบาก เหนื่อยทั้งกายและใจเป็นบางครั้ง ไม่รู้จักระมัดระวังตัวเอง ทำให้เกิดอุบัติเหตุบ่อยๆ อยู่ไม่นิ่ง ชอบวิ่งไปมาและปีนป่าย มีอาการลุกลี้ลุกลน ชอบลุกจากที่นั่งบ่อยๆ บางครั้งเป็นเราเองที่ต้องระวังลูกเราอยู่ตลอดเวลาว่าจะเกิดอันตรายอะไรไหมหรือเวลาที่คาดสายตาเราไป ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรเตรียมความพร้อมและความรู้ไว้ช่วยเหลือเจ้าตัวน้อยในกรณีเกิดเหตุการฉุกเฉินไม่คาดคิด จะได้สามารถนำมาใช้ช่วยเหลือเจ้าตัวน้อยได้ทันท่วงทีคะ

ตัวเด็กเอง

พัฒนาการตามวัยของเด็กทารกและเด็กวัยก่อนเรียน เอื้ออำนวยให้เด็กประสบอุบัติเหตุต่าง ๆ รอบ ๆ ตัวได้ง่ายมากกว่าเด็กวัยอื่น การเจริญเติบโตและพัฒนาทักษะของกล้ามเนื้อที่ยังไม่แข็งแรงสมบูรณ์เต็มที่ทำให้การคืบ การคลาน การเล่น การวิ่ง และความซุกซนตามวัยของเด็กนั้นเป็นเหตุของอันตราย เช่น ตกจากที่สูง ตกบันได อีกทั้งพัฒนาการด้านการเรียนรู้ทำให้เด็กได้รับอันตรายจากสิ่งที่ตนกระทำ เช่น อมเหรียญแล้วกลืนเข้าในหลอดลม เอาขาเข้าไปขัดในลูกกรงออกไม่ได้ เอาลวดหรือนิ้วแหย่เข้าไปในรูปปลั๊กไฟ เป็นต้น มีอันตรายอีกมากมายหลายประการที่เกิดจากภาวะของความเป็นเด็กเด็กชายมีอัตราการเกิดอุบัติเหตุสูงกว่าเด็กหญิงเพราะธรรมชาติของชายจะซุกซนและอยากรู้อยากเห็นมากกว่าเด็กหญิง นอกจากนี้เด็กที่มีสภาพร่างกายและจิตใจไม่ปกติ เช่น เด็กป่ วย เด็กพิการ เด็กที่หิว อ่อนเพลีย เหนื่อย อารมณ์ไม่ดี จะเกิดอุบัติเหตุได้ง่ายกว่าเด็กปก

 

วันนี้แจงก็เลยมีวิธีการปฐมพยาบาลเล็กๆน้อยๆมาให้ศึกษากันคะ ว่าเมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินกับตัวของลูกน้อยของคุณแม่คุณพ่อทั้งหลายแล้วควรจะทำอย่างไรที่จะช่วยลูกน้อยไว้ได้ทัน

ลูกน้อยกับแมลงกัดต่อย

แมลงกัดต่อยทั่วๆ ไป ถ้าลูกน้อยถูกกัดหรือต่อยเพียงจำนวน 2 - 3 ครั้งและในจุดไม่สำคัญ ก็ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายมากนัก ซึ่งพิษจะทำให้ลูกน้อยมีอาการคัน ปวด บวมแดงและคัน แต่ถ้าลูกน้อยถูกกัดหรือต่อยเป็นจำนวนมาก ก็จะทำให้ลูกน้อยมีอาการเพิ่มเติม เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ไข้ขึ้นสูง ท้องเดิน หายใจลำบาก หัวใจเต้นผิดปกติ เป็นลม และอาจถึงแก่ชีวิตจากอาการช็อกได้ ( Anaphylactic shock = อาการช็อกจากการแพ้สารบางชนิด )
ดังนั้นเมื่อคุณแม่ทราบถึงอันตรายของแมลงกัดต่อยกันแล้ว จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่คุณแม่ควรเรียนรู้และเตรียมพร้อมเกี่ยวกับวิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้นก่อนที่คุณแม่พาลูกน้อยไปพบแพทย์ ดังนี้
  1. ในกรณีที่มีเหล็กใน ให้คุณแม่พยายามเอาเหล็กในออก โดยใช้ลูกกุญแจที่มีรูแล้ววางให้บริเวณจุดของเหล็กในอยู่ตรงกลางของรู แล้วกดให้เหล็กในออกมาแล้วค่อยๆ ดึงออกเบาๆ ( ห้ามออกแรงบีบเค้นเด็ดขาด เพราะจำทำให้ถุงน้ำพิษในเหล็กในแตก ซึ่งทำให้ลูกน้อยได้รับพิษมากขึ้น ) หรือถ้าคุณแม่ไม่มีกุญแจก็ให้ใช้สกอตเทป ปิดทาบบริเวณแผลที่ถูกต่อย แล้วดึงสกอตเทปออกมา วิธีนี้จะได้ผลถ้าส่วนปลายของเหล็กในยังอยู่บริเวณผิวหนังชั้นนอก หรือให้คุณแม่นำใบมีดที่สะอาด แล้วขูดเบาๆ ตรงบริเวณที่เหล็กในฝั่งอยู่ แล้วเหล็กในจะหลุดติดตามใบมีดออกมา โดยวิธีนี้เหมาะกับลูกน้อยอายุ 2 ขวบครึ่งขึ้นไป หรือถ้าคุณแม่ไม่กล้าลงมือปฏิบัติก็ต้องรีบนำลูกน้อยไปพบแพทย์โดยทันที
  2. ทำความสะอาดบริเวณแผลด้วยน้ำและสบู่ หรือน้ำปูนใสก็ได้
  3. หาน้ำแข็งมาประคบประมาณ 15 นาที เพื่อลดอาการบวม ปวด และช่วยลดการซึมซาบของพิษสู่ร่างกาย
  4. ทาครีมคาลามายด์โลชั่นตรงบริเวณแผลหรือเช็ดด้วยน้ำยาแอมโมเนียหอมเพื่อลดความรุนแรงของพิษ
  5. ให้ลูกน้อยรับประทานยาลดไข้ชนิดน้ำเชื่อมสำหรับเด็ก ( พาราเซตามอลชนิดน้ำเชื่อม ขนาด 120 มก. ต่อช้อนชา ) เพียง 1 ครั้ง/4-6 ชั่วโมง โดยลูกน้อยอายุ 1 – 3 ขวบ รับประทานครั้งละ ½ - 1 ช้อนชา และลูกน้อยต่ำกว่าขวบปีแรก รับประทานเพียง ½ ช้อนชา
  6. เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ เพื่อบอกกับแพทย์ อาทิ แมลงอะไรที่กัดต่อย ถูกกัดมาแล้วเป็นเวลาเท่าไร ลูกน้อยมีอาการอย่างไรบ้างก่อนมาถึงโรงพยาบาลหรือคลีนิค เป็นต้น
การปฐมพยาบาลเมื่อเด็กจมน้ำ
 
1 ช่วยเด็กขึ้นมากจากน้ำให้เร็วที่สุด และดูว่ายังหายใจ รู้สึกตัวอยู่หรือไม่

2 ห้ามนำเด็กขึ้นพาดบ่า เพราะท่านี้ไม่สามารถทำให้น้ำไหลออกมาจากปอดได้

3 ควรปฐมพยาบาลเด็กด้วยการผายปอดอย่างถูกวิธี

4 รีบนำลูกส่งโรงพยาบาลให้เร็วที่สุด

 

 การปฐมพยาบาลเมื่อเด็กกระดูกหัก

 
1 พยายามวางอวัยวะที่หักลงบนแผ่นไม้หรือหนังสือหนาๆแล้วใช้ผ้าหรือเชือกมัดไม่ให้เคลื่อนไหวได้

2ถ้าหักที่ปลายแขนหรือมือต้องคล้องผ้าไว้ที่คอ

3 รีบพาเด็กส่งโรงพยาบาลเพื่อรักษาอาการต่อไปค่ะ


 

การปฐมพยาบาลเมื่อลูกถูกไฟฟ้าช็อต


1 รีบปิดสวิตซ์ไฟให้เร็วที่สุด

2 ถ้าปิดสวิตซ์ไฟไม่ได้ให้ ใช้สิ่งของ ต่างๆในบ้านดันตัวลูกให้ออกจากสวิตซ์ไฟหรือสายไฟ เช่น เก้าอี้ ไม้กวาด อย่าจับตัวลูกขณะถูกๆไฟซ็อตเด็ดขาด

3 เมื่อช่วยลูกออกมาได้แล้ว รีบดูว่าลูกยังหายใจอยู่ไหม ควรรีบเป่าปากให้ลมเข้าปอด ในระหว่างนั้นควรนวดหัวใจไปด้วย และรีบพาลูกส่งโรงพยาบาล
ทันทีค่ะ



 การปฐมพยาบาลเมื่อลูกโดนไฟไหม้ น้ำร้อนลวก

 
1 ฉีดหรือตัดผ้าบริเวณที่โดนน้ำร้อนลวกออก

2 เสื้อผ้าที่โดนไฟไหม้  ถ้าติดที่แผลแล้วไม่ต้องดึงออก

3 ถอดเครื่องประดับออกจากตัวให้หมด เพราะแผลจะบวมในภายหลัง

4 บริเวณที่โดนไฟไหม้ หรือ น้ำร้อนลวกควรทำให้เย็นลงให้เร็วที่สุด
 
 

 

หัวโน ห้อเลือด ฟกชํ้า

เมื่อเด็กหกล้ม หรือวิ่งชนกัน หรือชนวัตถุที่เป็ นของแข็ง ส่วนที่ถูกกระทบกระเทือนก็อาจจะเกิดห้อเลือดเขียวช้ำ หรือบวมขึ้นมาร่วมกับอาการปวด ทั้งนี้ เนื่องจากมีการฉีกขาดของเส้นเลือดใต้ผิวหนังในบริเวณนั้น อาการปวดบวม เขียวช้ำจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปริมาณเลือดที่ออใต้ผิวหนัง การปฐมพยาบาลควรทำดังนี้

1. ในระยะแรกให้ประคบด้วยความเย็น โดยอาจจะใช้ถุงพลาสติกใส่น้ำแข็งหรือผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีชื่อว่า cold-hot pack เป็นถุงใช้ได้ทั้งร้อนและเย็น (เวลาไม่ใช้จะเก็บในช่องแช่แข็ง) ประคบเส้นเลือด บริเวณนั้นจะหดตัวทำให้เลือดนั้นหยุดไหลห้ามนวดคลึงเพราะจะทำให้เลือดที่ออกใต้ผิวหนังยิ่งออกมากขึ้น 

2. ห้ามใช้ยาหม่อง หรือของร้อนอื่นๆ ทาบริเวณที่โนเพราะแทนที่จะหายโน ความร้อนของยาหม่องจะยิ่งทำให้ปวดร้อน เลือดมาครั่งร้อนอยู่ที่บริเวณแผล บางครั้งจะเห็นแผลแดงช้ำมาขึ้น

3. หลังจากประคบเย็นแล้ว 24 ชั่วโมง จึงเริ่มประคบด้วยความร้อน โดยการใช้ถุงน้ำอุ่นขวดใส่น้ำอุ่น หรือใช้ใบพลับพลึงอังไฟให้อุ่นๆ พันหรือวางนาบไว้ที่แผล เพื่อให้เลือดที่ออกถูกดูซึมกลับเข้าเส้นเลือดเร็วขึ้น ช่วยลดอาการปวดในบริเวณนั้นหรืออาจจะใช้ยาหม่องทาถูให้ผลดีเช่นเดียวกัน ข้อควรระวังก็คือ ความร้อนที่นำมาประคบให้เด็กนั้นต้องไม่ร้อนเกินไปจนทำอันตรายต่อผิวหนังทำให้เด็กเกิดแผลพุพองขึ้น



นอกจากนี้ทั้งหมดที่กล่าวมานั้นยังแบ่งแยกการช่วยเหลือตามอายุของเด็กด้วยนะคะ
  
   
 

 

 

 

กล่องใส่เครื่องมือการปฐมพยาบาล

 

ที่บ้านควรมีกล่องปฐมพยาบาลเตรียมพร้อมไว้ เวลาที่เด็กเกิดอุบัติเหตุจะได้นำมาใช้ทันท่วงที กล่องนี้ทำง่ายๆ จากกล่องใส่รองเท้าใหม่ๆ ที่ซื้อมาจากร้าน เอารองเท้าใช้ ส่วนกล่องใส่เครื่องเวชภัณฑ์ต่างๆ ในการปฐมพยาบาลได้อย่างสบาย หรือจะเป็นพวกกล่องพลาสติกอย่างกล่องไอศครีมขนาดบรรจุไอศครีม ๒ ลิตร เป็นขนาดที่พอดี ควรเก็บกล่องปฐมพยาบาลให้พ้นมือเด็ก แต่ง่ายต่อการหยิบใช้ สิ่งที่ควรใส่กล่องไว้ดังนี้


1. ผ้ากอสและสำลีที่ฆ่าเชื้อโรคเรียบร้อยแล้ว พร้อมทั้งพลาสเตอร์ และผ้าพันแผล

2. พลาสเตอร์ยา ขนาดใหญ่และเล็ก

3. ผ้ายืด ขนาดต่างๆ สัก ๓-๔ ม้วน

4. เข็มกลัดซ่อนปลาย

5. ยาฆ่าเชื้อ และยาใส่แผลสด (ควรให้เภสัชกรแนะนำชนิดใช้กับเด็ก)

6. กรรไกร ปากคีบปลายแหลมและปลายมน แบบมีเขี้ยวและไม่มีเขี้ยว

7. ยาแก้ปวดลดไข้ เช่น พาราเซตามอล

8. ม้วนผ้าขนาดเล็ก

9. เทอร์โมมิเตอร์

10. ผ้าฝ้ ายสีเหลี่ยมขนาด 1x1 เมตร

11. ครีมสำหรับทาแมลงกัดต่อย


 


คุณพ่อคุณแม่ต้องมีความรู้เรื่องปฐมพยาบาลเบื้องต้นไว้บ้าง เพราะเด็กๆมักจะเกิดอุบัติเหตุต่างๆบ่อยครั้ง เนื่องจากยังระวังตัวเองไม่เป็น สิ่งสำคัญที่ต้องฝึกให้ชำนาญคือการผายปอดเพื่อช่วยชีวิตลูกค่ะ

 

 


                              https://youtu.be/0dD0a5-AljQ

 
 
 

 

 

 

อ้างอิง

-นศ.พยาบาล วรัญญา จันต๊ะวงศ์ อายุ22ปี  นักศึกษาคณะพยาบาลปี 4มหาวิทยาลัยรังสิต.สัมภาษณ์.วันที่9/10/2558
-นศ.พยาบาล สุภลักษณ์ ภู่ชัยภูมิ อายุ22ปี  นักศึกษาคณะพยาบาลปี4มหาวิทยาลัยรังสิต.สัมภาษณ์. วันที่9/10/2558

สดุดี พิมล. วัยเตาะแตะ. กรุงเทพฯ :สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน :2553

ผกา สัตยธรรม. สุขภาพจิตเด็ก.  โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.กรุงเทพฯ.2531







 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น